วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

แหล่งอ้างอิง

ชมรมกระต่าย. 2530. "การเลี้ยงกระต่าย" มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (โรเนียว)
สังเวียน โพธิ์ศรี. 2528. "การเลี้ยงกระต ่าย" . มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมศักดิ์ บัณฑุปัย. 2528. "การเลี้ยงกริะต่าย" สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Dale L.Brooks, 1986. Rabbits. Mares, and Pikas (Lagomorpha). In Zoo and Wild Animal Medicine 2 nd edition, W.H. Saunders Company P.711-724.
Donaled D., Holmes. 1984. Clinical Laboratory Animal Medicine: and introduction. The Iowa State University. Pas, Amcs. Iowa. p.45-58.
National Reseach Council. 1977. Nutrient requirement of rabbits. 2 nd edition, National Academy of Science, Washington D.C.

เกร็ดความรู้

1. กระต่ายกินน้ำตายจริงหรือไม่ ?
ปกติแล้วกระต่ายเป็นสัตว์ที่มีความต้องการน้ำเช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื้น ๆ ถ้ากระต่ายได้รับ น้ำน้อย จะทำให้เติบโตช้า แต่การที่คนส่วนใหญ่เห็นว่ากระต่ายที่เลี้ยงกันนั้นไม่ได์ไห้น้ำเลยให้แต่ผัก หญ้า ก็ยังเห็นกระต่ายปกติดี เนื่องจากว่าในผักและหญ้านั้นมีน้ำมากเพียงพอที่จะทำให้กระต่าย มีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าให้น้ำเพิ่มด้วยจะทำให้กระต่ายเติบโตเร็วยิ่งขึ้น การที่กระต่ายกินน้ำแล้วตาย อาจเนื่องมางากภาธนะที่ใส่น้ำเป็นชามที่กระต่ายสามารถทำล้มได้ง่ายทำให้น้ำหกเจิ่งนองพื้น ซึ่งจะทำให้กระต่ายเป็นหวัดหรือปอดบวม และมีโรคอื่น ๆ แทรกช้อนจนทำให้ตายได้
2. จับท้องกระต่ายจะทำให้กระต่ายตายจริงหรือไม่ ?
การจับกระต่ายที่ถูกวิธีและทำด้วยความนุ่มนวลโอกาสที่กระต่ายจะตายนั้นมีน้อยมาก แต่สัญชาติญาณของกระต่ายเมื่อโดนจับบริเวณท้องมันก็จะดิ้น คนที่จับไม่เป็นหรือไม่รู์โดยเฉพาะ เด็ก ๆ เมื้อเห็นมันดิ้นก็จะยิ่งจับหรือบีบให้แน่นยิ่งขื้นเพราะกลัวว่ากระต่ายจะหลุดจากมือ ทำให้อวัยวะภายใน ด้รับอันตรายจนกระทั่งกระต่ายช๊อคตายได้
3. ทำใมกระต่ายสีขาวจะมีตาสีแดง?
การที่กระต่ายจะมีตาสีอะไรขี้นกับเม็ดสี(Pigment) ที่อยู่ในตา แต่ในกระต่ายสีขาวเช่น พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์หรือแคลลิฟอร์เนียน ไม่มีเม็ดสี ทำให้เห็นเส้นเลือดสีแดงในตาซึ่งจะ สะท้อนแสงให้เราเห็นตากระต่ายเป็นสีแดง ส่วนในกระต่ายพันธุ์พื้นเมืองนั้นมีตาสีดำ เุนื่องจากมันมีเม็ดสีเุป็นสีดำในตานั่นเอง
4. กระต่ายเป็นสัตว์ทื่จัดอยูในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับหนูใช่หรือไม่ ?
แต่ก่อนนักสัตววิทยาได้จัดให้กระต่ายอยู่ในกลุ่มสัตว์ฟันแทะเช่นเดียวกับหนู ต่อมาได้พบว่ากระต่ายกับหนูนั้นมีข้อแตกต่างกันที่กระต่ายมีฟันตัดหน้าบน 4 ชี่ ส่วนหนู มีเพียง 2 ชี่ ทำให้มีการจัดกลุ่มใหม่ โดยให้กระต่ายอยู่ในอันดับกระต่าย (Order Lagomorpha) และหนูจัดอยู่ในอันดับสัตว์ฟันแทะ (Order Rodentia)
5. ทำไมช่วงที่อากาศร้อนจัด ๆ กระต่ายถืงปช็อคตาย ?
เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อ ทำให้การระบายความร้อนเป็นไปได้ยาก ในช่วงที่อากาศร้อน ๆ กระต่ายจะหายใจถี่ขึ้น โดยสังเกตุที่จมูกจะ สั่นเร็วขึ้น และมีการ ระบายความร้อนที่เส้นเลือดแดงใหญ่กลางหูมากขึ้น แต่ก็ยังระบายความร้อนไม่ทันทำให้ อุณหภูมิในร่างกายสูงมากจนถึงขั้นทำให้ช๊อคตายได้
ตารางที่ 6 ค่าทางสรีรวิทยาของกระต่าย
ข้อมูลค่า
ช่วงชีวิต5-13 ปี
วัยเจริญพันธุ์4-6 เดือน
อายุที่เหมาะสำหรับผสมพันธุ์6-8 เดือน
วงรอบการเป็นสัด16 วัน
ระยะเวลาตั้งท้อง29-35 วัน
อายุหย่านม6-8 สัปดาห์
จำนวนโครโมโซม22 คู่
อุณหภูมิร่างกาย101.5 +/- 1 องศาฟาเรนไฮท์
อัตราการหายใจ35-65 ครั้ง/นาที
อัตราการเต้นของหัวใจ120-300 ครั้ง/นาที

โรคของกระต่าย

1. พาสเจอร์เรลโลลิส (Pasturellosis)
เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา (Pasturella multocida) ซี่งทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการ แตกต่างกันตามอวัยวะที่ติดเชื้อดังนี้
1.1 หวัด กระต่ายจะจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่มและมีน้ำมูกตดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก รักษาโดย ให้ยากิน เช่น เพนนิวิลลิน วี (Penicillin V ) หรือถ้าไม่แน่ใจให้รีบนำไปปริกษาสัตวแพทย์
1.2 ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจ ลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมี โอกาสรอดเพียง 75 % ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบ สัตวแพทย์ทันที
1.3 ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื้องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้า เช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้
การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85%) หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฎิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย
1.4 อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อ จับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ การอักเสบมักลุกลามไปทื่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้ โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรคัดทิ้ง
1.5 มดลูกอัดเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทาง อวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื้อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขยายใหญ่ การรักษาทำได้ยากมากและ กระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรคัดทิ้ง
2. สแตฟฟิลโลคอคโคซีส (Staphylococcosis)
โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล (Staphylococcus aureus) ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการดังนี้

2์.1 ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา
การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาด แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน

2.2 เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านม จะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าญม่แน่ใจควรรีบปริกษาสัตวแพทย์

2.3 ข้ออักเสบ เกิดจากมีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่ ข้อเท้าทำให้ข้อบวมแดง เจ็บปวด กระต่ายอาจมีไข้และมักพบบาดแผลที่ฝ่าเท้า
การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะ รักษาได้ยากและอาจจำเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรงอย่า ให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย

3. โรคบิด (Coccidiosis)
เกิดจากเชื้อโปรโตชัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac, E. irresdua, E.magna ฯลฯ การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ
อาการ ถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่ายจะทำให้ น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน และอาจทำให้ตายได้
การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa) หรือแอมโปรเลียม (Amprolium )

4. โรคพิซเชอร์ (Tizzer 's disease)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชชื่อ แบซิลลัส ฟิลลิฟอร์มิส (Bacillus pilliformis) มักพบ ในกระต่ายที่มีอายุ 7-12 สัปดาห์มากที่สุด
อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออก จากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก
การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าชัยคลีน (Oxytetracyclin) ละลายน้ำให้กิน

5. โรคติดเชื้อ อี.โค.ไล (Colibacillosis)
เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร กระต่ายจะมีอาการท้องเสีย อย่างรุนแรงและตายได้
การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฎิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ ให้น้ำเกลือ ลดอาหารข้น เพิ่มอาหารหยาบ
6. เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia)
เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตาย อย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไ

7. ไรในหู (ear mange or ear canker)
เกิดจากไรพวกโชรอบเตส แคนิคุไล(Psoroptes caniculi)
อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้น ๆ ที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตุดี ๆ จะพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก กระต่ายที่เป็นโรคนี้จะคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางตรังเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนองและมีกลิ่นเหม็น
การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหู เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกใชด์(H202) แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความ สะอาดกรงและอุปกรณ์การเลี้ยงเสมอ ๆ

8. ไรที่ผิวหนัง (skin mange)
เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei , var. cuniculi, Notedes cati var. caniculi
อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหู
การรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษา สัตวแพทย์ การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู

การขยายพันธุ์

กระต่ายที่จะนำมาผสมพันธุ์ควรมีอายุอย่างน้อย 5-7 เดือน ขึ้นอยู่กับพันธุ์หรือมี น้ำหนักมากกว่า 2.5 กิโลกรัม อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ต่อแม่พันธุ์คือ 1 ต่อ 8-10 ตัวและ พ่อพันธุ์หนึ่งตัวไม่ควรผสมพันธุ์เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ กระต่ายตัวเมียจะมีรอบการเป็นสัด ประมาณ 16 วัน ควรผสมพันธุ์เมื้อตัวเมียเป็นสัดเต็มที่ โดยดูที่อวัยวะเพศ ซึ่งจะบวมแดงมี เมือกเยิ้ม และกระต่ายอาจแสดงอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องหรือใช้เท้าตบพื้นกรง ถ้าเลี้ยงไว้หลายตัวรวมกันตัวที่เป็นสัดอาจขึ้นขี่ตัวอื่น เมื่อตัวเมียเป็นสัดเต็มที่แล้วให้จับ กระต่ายตัวเมียไปใส่ในกรงตัวผู้ ตัวเมียจะยกก้นให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ แล้วตัวผู้จะตกจากหลังตัวเมีย และมักส่งเสียงร้องพร้อมกับใช้เท้าตบพื้นกรง
แม่กระต่ายจะตั้งท้องประมาณ 29-35 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 31 วัน ในช่วงแรกของ การตั้งท้อง ลูกกระต่ายจะโตขึ้นอย่างช้า ๆ หลังจากวันที่ 15 ของการตั้งท้อง ลูกกระต่ายจะ โตขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรให้อาหารที่มีคุณค่าสูง และเพิ่มปริมาณอาหารให้กับแม่กระต่าย เมื่อแม่กระต่ายตั้งท้องได้ 4 สัปดาห์ ให้จัดเตรียมรังคลอดที่ปูด้วยฟางหรือหญ้าแห้งใส่ใน กรงก่อนคลอด 1-2 วัน แม่กระต่ายจะกัดขนปูรังคลอด และคาบวัสดุต่างๆ ที่เราจัดไว้ไห้มา จัดรังคลอดใหม่ ส่วนใหญ่แล้วแม่กระต่ายจะคลอดในตอนเช้ามืดและให้ลูกครอกละ 5-12 ตัว ลูกกระต่ายแรกเกิดจะยังไม่มีขนขึ้น และยังไม่ลืมตาแม่กระต่ายจะให้ลูกกินนมในตอนเช้าวันละ 1-2 ครั้งๆละ 3-4 นาที เท่านั้น เมื่ออายุ 10 วันลูกกระต่ายจะลืมตา และมีขนขึ้นเต็มตัว พออายุประมาณ 15 วัน ลูกกระต่ายจะเริ่มออกจากรังคลอดและเริ่มกินหญ้าหรืออาหารแข็งได้ ลูกกระต่ายจะหย่านมเมื่ออายุประมาณ 5-7 สัปดาห์
บางครั้งจะพบว่าแม่กระต่ายให้ลูกมากเกินไปทำให้ลูกกระต่ายในครอกนั้นเติบโตช้า ผู้เลี้ยงจึงอาจนำลูกกระต่ายใปฝากแม่ตัวอื่นเลี้ยงได้ แม่กระต่ายที่จะนำไปฝากจะต้องคลอด ห่างกันไม่เกิน 3 วัน และควรฝากเมื้อลูกกระต่ายมีอายุน้อยกว่า 5 วัน โดยนำกระต่ายที่จะฝาก ไปถูกับขนของแม่กระต่ายที่จะรับฝากเลี้ยงแล้วนำไปรวมกลุ่มกับลูกกระต่ายที่มีอยู่ก่อนแล้ว ในกรณีที่ไม่มีแม่กระต่ายให้ฝากเลี้ยงอาจนำลูกกระต่ายมาเลี้ยงเองก็ได้ โดยใช้อาหารแทนนม ดังตารางที่ 3 ส่วนขวดนมก็อาจใช้หลอดฉีดขนาดเล็กหรือหลอดยาหยอดตา โดยที่ปลาย ของหลอดมีสายยางขนาดเล็กต่อสวมไว้ เพื่อให้ลูกกระต่ายดูดนมจากหลอดได้ และทำการเลี้ยงดังตารางที่ 4
ตารางที่ 4 อาหารแทนนมที่ใช้เลี้ยงลูกกระต่าย
ส่วนประกอบปริมาณ
ไข่แดง1 ฟอง
นมผง120 ลบ.ซม. (ลูกบาศก์เซนติเมตร)
น้ำสะอาด120 ลบ.ซม. (ลูกบาศก์เซนติเมตร)
>น้ำเชื่อม15 ลบ.ซม. (ลูกบาศก์เซนติเมตร)
ที่มา : Dale L. Brooks, 1986
ตารางที่ 5 การเลี้งดูลูกกระต่ายกำพร้า
อายุการเลี้ยงดู
1 สัปดาห์ป้อนนมวันละ 5 ลบ.ซม. วันละ 3 เวลา
2 สัปดาห์ป้อนนมวันละ 15 ลบ.ซม. วันละ 3 เวลา
3 สัปดาห์ป้อนนมวันละ 25 ลบ.ซม. วันละ 3 เวลา เริ่มให้ผักสด หญ้า และอาหารอัดเม็ด นำกระต่ายออกมาเล่นบ้าง
6-8 สัปดาห์งดให้นม ให้กินผักสด หญ้า และอาหารอัดเม็ด
ที่มา : ดัดแปลงจาก Donald D., Holmes, 1947

วิธีการจับกระต่าย

กระต่ายเป็นสัตว์ที่ตกใจง่าย ดังนั้นการจับกระต่ายจะต้องทำด้วยความนุ่มนวลและ ถูกวิธีเพื้อความปลอดภัยของตัวกระต่ายและตัวผู้จับด้วย ไม่ควรจับกระต่ายโดยการหิ้วหู เพราะจะทำให้กระต่ายเจ็บปวด และอาจเป็นสาเหตทำให้กระต่ายหูตกได้ การจับกระต่ายที่ถูกวิธีมีดังนี้

1. ลูกกระต่าย ใช้มือที่ถนัดจับหนังบริเวณสะโพกให้มั่นคง แล้วยกขึ้นตรง ๆ

2. กระต่ายขนาดกลาง ใช้มือขวา (หรือมือที่ถนัด) จับหนังเหนือไหล่ให้มั่นคง อาจรวบหูมาด้วยก็ได้ มือซ้ายรองใต้ก้นให้ด้านหน้าของกระต่ายหันออกนอกตัวผู้จับ

3. กระต่ายใหญ่ ใช้มือขวาจับแบบวิธีที่ 2 แล้วยกอ้อมขึ้นมาทางช้ายมือใช้แขนช้าย หนีบให้แนบชิดลำตัวโดยใช้มือซ้ายช่วยประคองก้น ให้หน้ากระต่ายหันไปทางหลังของผู้จับ และขากระต่ายชี้ออกนอกตัวผู้จับ

โรงเรือนและอุปกรณ์ต่างๆ

1. โรงเรือน
ลักษณะของโรงเรือนที่ดีควรตั้งอยู่ในแนวทิศตะวันออกกับตะวันตก มีลวดตาข่ายล้อม รอบเพื่อป้องกันแมลงและสัตว์ ชี่งจะทำอันตรายและนำโรคมาสู่กระต่าย หลังคาของโรงเรือนจะ ต้องกันแดดและฝนได้ดี พื้นภายในโรงเรือนควรเป็นพื้นคอนกรีต เพื่อไม่ให้เปียกชื้นและทำ ความสะอาดได้ง่าย กรณีที่ผู้เลี้ยงมีพื้นที่ในบ้านหรือใต้ชายคาบ้านมากพอสมควร และกระต่าย ที่เลี้ยงมีจำนวนไม่มากนัก ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือน
2. กรง
ขนาดของกรงขึ้นกับจำนวนกระต่าย ถ้าเป็นกรงเดี่ยวควรมีขนาดกว้าง 50-60 เชนติเมตร ยาว 60-90 เชนติเมตร สูง 45-60 เซนติเมตร ถ้าต้องการเลี้ยงกระต่ายหลายตัว อาจทำเป็นกรงตับและซ้อนกัน 2-3 ชั้น หรือถ้าจะขังหลายๆ ตัวรวมกัน กรงที่ใช้จะต้องใหญ่พอ ที่กระต่ายจะอยู่กันได์ไดยไม่หนาแน่นเกินไป วัสดุที่ใช้ทำกรงอาจใช้ไม้ระแนง หรือลวดตาข่าย ที่มีช่องกว้างประมาณ 1/2 - 3/4 นิ้ว ถ้าเป็นกรงส่าหรับแม่กระต่ายเลี้ยงลูก ลวดตาข่ายที่ใช้บุพื้น ควรมีช่องขนาด 1/2 นิ้ว เพื่อปัองกันขาของลูกกระต่ายติดในร่องของลวด ถ้าเลี้ยงกระต่ายไม่กี่ตัว อาจชื้อกรงส่าเร็จรูปที่มีขายตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ทั่วไป แต่ต้องไม่ลืมว่ากรงที่ใช้จะต้อง มีขนาดใหญ่พอที่กระต่ายจะอยู่ได้อย่างสบาย และต้องแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานยาวนาน
3. อุปกรณ์การให้อาหาร
ควรใช้ถ้วยดินเผาขนาดเสนผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว และมีน้ำหนักมาก พอที่กระต่ายจะ ไม่สามารถทำล้มได้ อาจใช้กล่องใส่อาหารที่ทำด้วยอลูมิเนียมเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปครึ่ง วงกลมผูกแขวนติดกับข้างกรง ถ้าเป็นกระต่ายขุน อาจใช้กล่องอาหารอัตโนมัติเพื่อที่กระต่าย จะได้กินอาหารตลอดทั้งวัน


4. อุปกรณ์การให้น้ำ
มีหลายแบบด้วยกัน เช่น ถ้วยดินเผาใส่น้ำ แต่มีข้อเสียคือ กระต่ายอาจถ่ายมูลหรือ ปัสสาวะลงในถ้วยทำให้สกปรกได้ หรืออาจใช้ขวดอุดด้วยจุกยาง ซึ่งมีรูส่าหรับสอดท่อทองแดง วิธีใช้ให้นำขวดไปเติมน้ำจนเกือบเต็มขวดแล้วคว่ำขวดแขวนที่ข้างกรงกระต่ายให้ปลายท่อ ทองแดงสูงระดับที่กระต่ายกินน้ำได้สะดวก ควรตัดท่อทองแดงให้โค้งพอเหมาะ น้ำจึงจะไหล ได้ดีถ้าเลี้ยงกระต่ายเป็นจำนวนมาก ๆ อาจใช้อุปกรณ์ไห้น้ำแบบอัตโนมัติก็ได้ เพื่อประหยัด แรงงานและอุปกรณ์ แต่ค่าไซ้จ่ายค่อนข้างสูง
5. รังคลอด
ควรมีขนาดกว้างพอที่แม่กระต่ายและลูกกระต่ายอยู่ได้อย่างสบาย โดยทั่วไป รังคลอดควรมีขนาดกว้าง 30 เชนติเมตร ยาว 40 เชนติเมตร สูง 15 เซนติเมตร พื้นรัง- คลอดบุด้วยลวดตาข่ายขนาด 1/2 นิ้ว หรือใช้ไม้ตีปิดพื้นให้ทึบ ปูพื้นด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง
การทำความสะอาดโรงเรือนและกรงควรทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง เพี่อลดกลิ่นเหม็นที่เกิดจากมูลกระต่าย ส่วนภาชนะใส่น้ำและอาหารควรล้างทำความสะอาด อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

การควบคุมและกันป้องกันโรคของกระต่าย

1. โรคกระต่าย
เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความเสียหายในการเลี้ยงกระต่ายเสมอไม่ว่าจะเลี้ยงกระต่ายมาก น้อยเท่าใด หรือมีการจัดการที่ดีเพียงใดก็ตาม การที่จะควบคุมโรคกระต่ายให้ได้ผลดีควรเน้นที่ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้น และรักษาตั้งแต่กระต่ายเริ่มป่วยเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคและ ประหยัดค่ารักษา
สาเหตุของโรคมีทั้งสาเหตุที่เกิดจากตัวกระต่ายเองและสาเหตุภายนอกชึ่งสาเหตุต่างๆ นั้นอาจจำแนกได้ดังนี้
1.1 สภาพแวดลอมที่ไม่เหมาะสม เช่น ใกล้แหล่งเชื้อโรค มีพาหะของเชื้อโรคมาก อากาศที่ร้อนชื้น การระบายอากาศที่ไม่ดีเป็นต้น
1.2 อาหารและน้ำที่ใม่เพียงพอหรือมีสิ่งเจือปนที่เป็นพิษต่อกระต่าย
1.3 พันธุกรรม โรคหรือลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างสามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้ เช่น ลักษณะฟันยื่น

ลักษณะกระต่ายฟันยื่น
1.4 เชื้อโรค ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตชัว พยาธิ เห็บ หมัด เหา ไร เป็นสาเหตุที่ เด่นชัดและพบได้เป็นประจำ
2. การป้องกันโรค
ทำได้โดยพยายามลดสาเหตุของโรคให้เหลือน้อยที่สุดได้แก่
2.1 เลือกชื้อกระต่ายที่แข็งแรงและปลอดโรคมาเลี้ยง
2.2 ดูแลกระต่ายให้อยู่สภาพที่สบาย สะอาด ได้รับอาหารและน้ำเพียงพอ ไม่ร้อนเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
2.3 หมั่นตรวจและสังเกตุลักษณะอาการของกระต่ายเป็นประจำ ถ้าพบกระต่ายป่วย ควรแยกไปเลี้ยงในที่เฉพาะและทำการรักษาทันที ถ้าไม่สามารถรักษาได้ควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์ ส่าหรับกระต่ายตัวอื่นที่ยังไม่ป่วยควรดูแลเป็นพิเศษและทำความสะอาดโรงเรือนให้บ่อยขี้น
2.4 ไม่ควรใช้ยาเอง ถ้าไม่มีความรู้เพียงพอ ถ้าจะใช้ยาเองควรทำตามคำแนะนำของ สัตวแพทย์ และไม่ควรใช้ยาโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้เชื้อโรคตื้อยาได้

การดูเพศ

กระต่ายที่โตแล้วสามารถที่จะดูเพศได้อย่างชัดเจน โดยที่ตัวผู้จะเห็นลูกอัณฑะ อยู่นอกช่องท้องชัดเจน และตัวเมียเห็นอวัยวะเพศอยู่ใต้ทวารหนัก แต่การดูเพศใน ลูกกระต่ายนั้นจะต้องอาศัยความชำนาญ ความแม่นยำทางสายตาและแสงสว่างที่ เพียงพอ ลูกกระต่ายที่จะดูเพศได้อย่างชัดเจน ควรมีอายุเกิน 2 สัปดาห์

วิธีการ จับลูกกระต่ายนอนหงายในฝ่ามือ ใช้นิ้วมือและนิ้วหัวแม่มือของอีก มือหนึ่งลูบและกดเบา ๆ ที่ข้าง ๆ อวัยวะเพศ จะเห็นอวัยวะเพุศอยู่เหนือทวารหนัก ถ้าเห็นเป็นแท่งกลมยี่นออกมาแสดงว่าเป็นตัวผู้ ส่วนตัวเมียจะเห็นเป็นรอยผ่ายาว จนเกือบถึงทวารหนัก

การให้อาหารกระต่าย

ควรพิจารณาปริมาณที่ให้ไดยให้พอดีกับความต้องการของกระต่ายซึ่งขื้นอยู่กับระยะ การเจริญเติบโตของกระต่าย น้ำหนักตัวและสภาพเฉพาะของกระต่ายแต่ละตัวด้วย
1. กระต่ายตั้งท้อง
ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15% วันละ 4.5% ของน้ำหนักตัวหรือให้ใน ปริมาณ 120-180 กรัมต่อวัน โดยเริ่มให้ตั้งแต่ตรวจพบว่าตั้งท้องหรือท้องประมาณ 15 วันจนถึงวันคลอด
2. กระต่ายเลี้ยงลูก
ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 17% วันละ 4.5% ของน้ำหนักแม่รวมกับ น้ำหนักลูก หรือให์ในปริมาณ 150-300 กรัมต่อวัน
3. กระต่ายหลังหย่านม
ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 16% วันละ 5 % ของน้ำหนักตัวหรือให้ใน ปริมาณ 50-150ุ กรัมต่อวัน
4. พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
ควรให้อาหารที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 15% วันละ 3.5-4 % ของน้ำหนักตัว หรือให์ใน ปริมาณ 90-140 กรัมต่อวัน ปริมาณอาหารส่าหรับพ่อและแม่พันธุ์ควรปรับตามสภาพร่างกาย เพื่อควบคุมไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป ซึ่งจะมีผลทำให้การผสมติดยาก
อาหารชนิดต่าง ๆ ที่อาจเลือกใช้เลี้ยงกระต่ายได้แสดงไว้ในตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ส่วนประกอบทางอาหารของอาหารกระต่ายบางชนิด(%)
ชนิดอาหารวัตถุแห้งโปรตีนย่อยได้ยอดโภชนะย่อยได้โปรตีนรวมไขมันสารเยื่อใยแป้งน้ำตาลเถ้าแคลเซียมฟอสฟอรัส
กากถั่วเหลือง90.937.278.445.35.35.729.66.00.290.66
กากถั่วลิสง93.041.968.547.11.514.925.04.50.160.54
กากทานตะวัน94.345.070.849.54.95.428.65.90.261.22
กากเต้าหู้สด14.14.712.85.50.71.65.80.5--
กากเต้าหู้แห้ง90.8--21.96.920.926.74.5--
กากสัปรดแห้ง85.31.060.14.01.919.457.22.80.160.15
ข้าวกล้อง87.87.081.09.12.11.174.51.10.040.25
ปลายข้าว88.35.881.67.51.61.678.81.81.040.10
ข้าวฟ่าง89.68.479.910.82.82.371.12.00.020.32
เมล็ดข้าวโพด85.06.780.18.73.96.260.21.20.320.27
รำข้าวละเอียด85.710.366.213.013.29.934.612.80.051.18
มันเส้น, สำปะหลัง88.31.382.51.90.73.080.52.2--
มันเทศสด, หัว31.80.225.61.60.51.926.71.20.040.04
กระถินใบสด32.54.017.26.10.712.311.22.20.280.07
กระถินใบแห้ง91.218.366.824.44.614.939.47.90.760.19
ข้าวโพด, ต้นสด22.70.513.01.30.46.013.61.40.070.01
เซนโตรซีมา, ต้นสด19.52.69.74.60.76.26.41.6--
หญ้าขนทั่วไปเฉลี่ย27.81.014.91.80.410.012.72.9--
หญ้าซอกัม84.16.841.011.91.724.239.21.7--
ผักบุ้ง6.2--2.20.50.72.40.5--
ผักตบชวา9.80.44.61.10.12.24.51.5--

ที่มา : ภาควิชาสัจวบาล, 2528. หลักการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน้า 127-131
หมายเหตุ % อ่านว่า เปอร์เซนต์ หมายถึงร้อยละ

ตารางที่ 3 แสดงตัวอย่างสูตรอาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่าย
วัตถุดิบและคุณภาพคิดเป็นเปอร์เซ็นต์โปรตีน ระยะ
เจริญเติบโตดำรงชีพตั้งท้องเลี้ยงลูก
ข้าวโพด (7.7%)15151515
ปลายข้าว (8.11%)30322924
รำละเอียด (8.41%)3340.53636
กากถั่วเหลือง (46.4%)1710.51520
ปลาป่น (58.65%)3-33
กระดูกป่น0.50.50.50.5
เปลือกหอย0.50.50.50.5
ไวตามินและแร่ธาตุ0.50.50.50.5
เกลือป่น0.50.50.50.5
รวม (กิโกกรัม)100100100100
โปรตีน (%)16.012.0415.2517.16

อาหารกระต่าย

อาหารมีความส่าคัญต่อการเลี้ยงกระต่ายอย่างยิ่งเพราะต้นทุนในการเลี้ยงกระะต่าย มากกว่าครึ่งหนึ่งใช้เป็นค่าอาหาร การที่จะเลี้ยงกระต่ายให้เติบโตเร็ว มีสุขภาพดีและให้ ผลผลิตสูงจำเป็นจะต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่เหมาะสม และมีปริมาณเพียงพอกับความ ต้องการของกระต่าย
อาหารที่ใช้เลี้ยงกระต่ายแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. อาหารหยาบ (Roughage)
หมายถึงอาหารที่มีโภชนะย่อยได้ต่ำ มีเยี่อใยสูง ซึ่งหมายถึงอาหารที่กินเข้าไป และเหลือกากขับถ่ายออกมาเป็นของเสียมาก ส่วนใหญ่ได้มาจากลำต้น และใบของพืช ตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่ว เช่น หญ้าเนเปียร์ หญ้าขน หญ้ากินนี กระถิน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วชีราโต ถั่วไกลซีน ถั่วเทาสวิลสไลโล เป็นต้น หรืออาจจะใช้ต้น พืชผักชนิดต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักโขม ผักกาด คะน้า กะหล่ำปลี แครอท ผักกาดหอม หัวผักกาด มันเทศ มันแกว ฯลฯ เลี้ยงกระต่ายก็ได้
อาหารหยาบประเภทใบพืช ผัก หญ้า ควรให้กินเต็มที่ กระต่ายชอบหญ้าสด ผักสด มากกว่าตากแห้ง แต่หญ้าแห้งก็อาจใช้ได้ แต่ควรเป็นหญ้าที่อยู่ในระยะยังอ่อน ตากแห้งสะอาดไม่มีรา ไม่สกปรก ไม่มียาฆ่าแมลง ดวรหั่นเป็นท่อน ๆให้ยาวพอควร


2. อาหารข้น (Concentrate)
แม้ว่ากระต่ายจะสามารถยังชีพและขยายพันธุ์ตามปกติธรรมชาติ โดยอาศัย อาหารประเภทต้นหญ้า ใบพืชได้ก็ตาม แต่หากเราต้องการให้มันเจริญเติบโต ให้ผลิตผลเร็ว ให้เนื้อมาก ให้ขยายพันธุ์มีลูกดก ได้ลูกปีละหลายตัว เราจะต้องเลี้ยงดูให้ดี โดยมีอาหารข้น (Concentrates) เพิ่มเสริมให้ด้วย อาหารขันนี้เป็นอาหารที่มีโภชนะย่อยได้สูง มีเยื่อใยต่ำ ย่อยง่าย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือ
2.1 อาหารที่เป็นแหล่งพลังงาน คืออาหารที่มีแป้ง และน้ำตาล (คาร์ไบ ไฮเดรต) หรือไขมันสูง ได้แก่ รำ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันเสน และไขมัน จากพืชหรือสัตว์
2.2 อาหารที่เป็นแหล่งโปรตีน ได้แก่ นมผง ปลาป่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง และใบกระถินป่น
ส่าหรับอาหารข้นควรเสริมให้กินในตอนบ่าย กระต่ายที่ไม่ได้เสริมด้ยอาหารข้น ควรมีแร่ธาตุประกอบด้วย เกลือ กระดูกป่น และเปลือกหอยบดอย่างละเท่า ๆ กัน ผสมให้เข้ากัน ตั้งให้กินตามชอบ อาหารป่นที่แห้งอาจผสมน้ำเล็กน้อยพอชื้น เพื่อสะดวกใน การกินและจะช่วยมิให้ร่วงหล่นเสียหาย
3. อาหารส่าเร็จรูป (Complete feed)
เกิดจากการนำอาหารข้นและอาหารหยาบมารวมกันในอัตราส่วนที่เหมาะสม มีสภาพเป็นผงหรืออัดเป็นเม็ด นำมาใช้เลี้ยงกระต่ายได้สะดวก กระต่ายที่เลี้ยงด้วยอาหาร สำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในปริมาณที่เพียงพอจะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่ในการ เลี่ยงโดยทั่วไปนิยมเสริมหญ้าสด เพื่อลดต้นทุนและควรให้หญ้าหลังจากที่กระต่ายกินอาหาร สำเร็จรูปในปริมาณมากพอสมควร เพื่อให้กระต่ายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ

กระต่ายที่นิยมเลี้ยงในไทย

กระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศไทยมีอยู่ไม่กี่พันธุ์ดังไปนี้
1. พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ (Newzealand White)
เป็นกระต่ายที่นิยมเลี้ยงกันแพร่หลายที่สุด มีขนสีขาวตลอดตัว ตาสีแดงหน้าสั้น มีสะโพกใหญ่ ไหล่กว้าง ส่วนหลังและสีข้างใหญ่ เนื้อเต็ม ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนัก 4.1-5.0 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.5-5.5 กิโลกรัม


2. พันธุ์แคลิฟอร์เนียน (Californian)
มีขนสีขาวตลอดตัวยกเว้นที่บริเวณใบหู จมูก ปลายเท้าและปลายหางจะมีสีดำ ลำตัวท้วมหนา สะโพกกลม ช่วงไหล่และช่วงท้ายใหญ่ ให้ลูกดกเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้หนัก 3.5-4.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 4.0-5.0 กิโลกรัม


3. พันธุ์แองโกร่า (AngOra)
เลี้ยงกันมากทางภาคเหนือ มีขนฟูยาว ขนสีขาว สีดำหรือสีอื่น ๆ เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้ หนัก 2.4-3.5 กิโลกรัม ตัวเมียหนัก 2.5-3.8 กิโลกรัม



4. พันธุ์พื้นเมือง
มีหลายสีเช่น สีเทา ขาว น้ำตาล ฯลฯ ตาสีดำ หน้าแหลม เลี้ยงลูกเก่ง ทนต่อสภาพ แวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2.0-3.0 กิโลกรัม ปัจจุบันมีการผสมข้ามพันธุ์ กับกระต่ายพันธุ์อื่น จนหากระต่ายพื้นเมืองแท้ได้ยาก

พันธุ์ของกระต่าย

พันธุ์ของกระต่าย
กระต่ายมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ โดยสามารถใช้ขนาดเป็นเกณฑ์ในการจำแนก ได้แก่ กระต่ายแคระ กระต่ายขนาดเล็ก กระต่ายขนาดกลาง และกระต่ายขนาดใหญ่
  • กระต่ายแคระ เช่น เนเธอร์แลนด์ดวอฟ โปลิช ดวอฟโอโท เป็นต้น
  • กระต่ายขนาดเล็ก ได้แก่ ฮอลแลนด์ลอป อเมริกันฟัซซี่ลอป มินิเร็กซ์ ดัทช์ เป็นต้น
  • กระต่ายขนาดกลาง เช่น ซาติน แคลิฟอร์เนียน นิวซีแลนด์ไวท์ เป็นต้น
  • กระต่ายขนาดใหญ่ ได้แก่ เฟลมมิชไจแอนท์ เฟร้นช์ลอป อิงลิชลอป เชคเกิร์ตไจแอนท์ เป็นต้น